Many Minds Digital Business รู้จักความต้องการ 5 ขั้นกับธุรกิจเกี่ยวข้องกันอย่างไร

รู้จักความต้องการ 5 ขั้นกับธุรกิจเกี่ยวข้องกันอย่างไร

รู้จักความต้องการ 5 ขั้นกับธุรกิจเกี่ยวข้องกันอย่างไร post thumbnail image

หากพูดถึงลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ในแวดวงธุรกิจ แน่นอนว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ ข้อมูลที่เปรียบเสมือนหมุดหมายสำคัญที่จะทำให้รู้ว่าควรนำเสนอการบริการหรือสินค้าแบบไหน จึงจะตอบโจทย์ความต้องการหรือตรงใจผู้ซื้อมากที่สุด 

ตามทฤษฎีของมาสโลว์ได้บอกเอาไว้ว่ามนุษย์เราจะขยับความต้องการของตนเองไปสู่ความต้องการอันดับถัดไปก็ต่อเมื่อสามารถตอบสนองความต้องการอันดับแรกหรืออันดับก่อนหน้าได้แล้วเท่านั้น จึงเป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้เพื่อนำมาปรับใช้

รู้จักความต้องการ 5 ขั้นกับธุรกิจเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ความต้องการของมนุษย์แบ่งได้หลายระดับหลัก ๆ มีทั้งหมด 5 ขั้น ดังต่อไปนี้

1. ความต้องการพื้นฐาน Physiological Needs 

ทุกคนพึงมีและขาดไม่ได้ หรือที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยกันดีกับคำว่าปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร น้ำ เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค จุดประสงค์หลักของการตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้ก็เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับการดำเนินชีวิต สินค้าหรือบริการที่มักมองหา เช่น บ้าน ที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

2. ความต้องการด้านความปลอดภัย Safety Needs 

แค่การนำเสนอสินค้าหรือบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานได้นั้นยังไม่เพียงพอ เพราะจำเป็นต้องสามารถตอบสนองความต้องการในขั้นถัดไปได้ นั่นก็คือ การนำเสนอสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่ให้ความรู้สึกว่าเข้าไปมีส่วนร่วมแล้วปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น ซื้อบ้านต้องมีบริการหลังการขาย ตั้งแต่การดูแลรักษา การซ่อมบำรุง ไปจนถึงการคุ้มครองและสัญญาต่าง ๆ 

3. ความต้องการเป็นที่รักและเป็นส่วนหนึ่ง Love and Belonging Needs

คนเรามีความปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น อาจเป็นเพียงแค่สังคมเล็ก ๆ หรือสังคมขนาดใหญ่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ที่สร้างความได้เปรียบให้แก่ผู้ประกอบการว่าจะสามารถตอบสนองความต้องการในส่วนนี้ได้หรือไม่ เช่น ในที่นี้จะยกตัวอย่างเรื่องบ้านเหมือนเคย เริ่มแรก คือ นอกเหนือไปจากความปลอดภัยและความมั่นคงที่ควรจะได้รับแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและทำเลที่ตั้ง รวมถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตว่าตอบโจทย์และมีความสอดคล้องกันหรือไม่ร่วมด้วย

4. ความต้องการมีคุณค่า Esteem Needs

การวัดคุณค่าแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวบุคคล แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคนเรามักต้องการการมีคุณค่าในแง่ของความพึงพอใจ เช่น การมีรถมีบ้านเป็นของตนเองเพื่อแสดงถึงสถานภาพทางการเงิน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ผู้ประกอบการสามารถนำมาใช้เพื่อค้นหาการบริการที่ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี

5. ความปรารถนาที่จะเติมเต็มภายในตนเองได้อย่างสมบูรณ์ Self – Actualization Needs

ความต้องการลำดับสุดท้ายที่คาดเดาได้ยากว่าจะนำเสนอการบริการหรือสินค้าใดที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ หรือพูดให้ง่าย ๆ คือ การที่ความต้องการในลำดับนี้จะได้รับการเติมเต็มก็ต่อเมื่อความต้องการใน 4 อันดับแรกได้รับการเติมเต็ม 

ความต้องการ 5 ลำดับขั้น ถือเป็นหนึ่งในจิตวิทยาที่เหล่าบรรดาผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ เพื่อช่วยให้รู้ได้ว่าความต้องการของตลาดเปลี่ยนแปลงไปในทางไหน และควรเลือกสินค้าหรือการบริการใดจึงจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้จริง ๆ 

Related Post

ใบตัด

แนะนำ 4 สาเหตุใช้งานใบตัด แล้วเกิดการแตก หยุดทำพฤติกรรมเหล่านี้เพื่อความปลอดภัยแนะนำ 4 สาเหตุใช้งานใบตัด แล้วเกิดการแตก หยุดทำพฤติกรรมเหล่านี้เพื่อความปลอดภัย

ในปัจจุบันการทำงานสายช่างเหล็ก ต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสร้างผลงานให้ออกมามีคุณภาพ เช่น เครื่องเชื่อม ไฟเบอร์ ใบตัด งานเชื่อมแก๊ส และอื่นๆอีกมากมาย เป็นต้น ช่างเหล็กจำเป็นต้องมีการตัดขนาดให้ได้ตามความต้องการ เพื่อติดตั้งตามแบบชิ้นงาน ต้องใช้ไฟเบอร์ตัดเหล็กและลูกหมู ทำหน้าที่ในการตัดเหล็กและตกแต่งชิ้นงานให้มีความสวยงาม แต่ถ้าใช้งานผิดประเภทหรือปฏิบัติงานไม่ถูกวิธีอาจมีความเสี่ยงทำให้ใบตัดเกิดการแตก และอาจได้รับบาดเจ็บเกิดขึ้นได้ เราจึงขอแนะนำ หยุดพฤติกรรมความเสี่ยง ที่ทำให้ใบตัดเกิดการแตก มีอะไรบ้าง 4 สาเหตุใช้งานใบตัด แล้วเกิดการแตก หยุดทำแบบนี้เพื่อความปลอดภัย 1.จับยึดชิ้นงานไม่แน่น  การจับยึดชิ้นงานไม่แน่น เป็นสาเหตุหลักๆ ในระหว่างการตัดเหล็กแล้วเกิดการเคลื่อนที่ หรือทำให้ชิ้นงานหลุดจากตำแหน่งที่ล็อคไว้ ทำให้ใบตัดเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง

ช่วงธุรกิจถดถอย

ทำอย่างไรดีในช่วงธุรกิจถดถอยทำอย่างไรดีในช่วงธุรกิจถดถอย

แน่นอนว่าจุดมุ่งหมายของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ คือ ต้องการนำพาธุรกิจให้ดำเนินต่อไป แต่ใช่ว่าทุกเวลาจะประสบความสำเร็จและได้ผลตอบแทนแบบที่ต้องการ บางครั้งอาจพบว่าธุรกิจไม่เป็นไปตามที่คาดหวังหรือกำลังถดถอย บางคนอาจเกิดความเครียดและกดดันอย่างมาก ไม่รู้ว่าควรจัดการอย่างไรดี ในวันนี้เรามีกลยุทธ์แบบง่าย ๆ ให้คุณต่อสู้ในวันที่ธุรกิจถดถอยมาแนะนำ วิธีรับมือช่วงธุรกิจถดถอย มีกลยุทธ์รับมือหลักอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 กลยุทธ์ ดังต่อไปนี้ 1. กลยุทธ์กลับตัวหรือปรับตัว Turnaround Strategy  ก่อนอื่นผู้ประกอบการต้องรู้ตัวก่อนว่า ณ ขณะนี้ธุรกิจกำลังเริ่มถดถอยหรือแค่เข้าใกล้เพื่อหาวิธีการรับมืออย่างเหมาะสม เช่น พบว่าธุรกิจอยู่ในช่วงขาลง ลูกค้าน้อยลง สภาวะเศรษฐกิจทั้งในไทยและโลกไม่ค่อยดี ก็ถึงเวลาที่ต้องปรับตัว ด้วยการใช้กลวิธีต่าง ๆ มาช่วย

ผู้ประกอบการยุคใหม่

ไปหาคำตอบกับคำถามผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องเจอไปหาคำตอบกับคำถามผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องเจอ

หลายครั้งที่เราเริ่มต้นธุรกิจและประสบปัญหาไปต่อไม่ถูก ทำอะไรก็ไม่ได้ เริ่มต้นตรงนี้ก็กลัว ไปตรงนั้นก็คิดว่าน่าจะไม่ถูกต้อง จนนำมาซึ่งคำถามมากมายที่หลายคนอยากถามเพราะความแน่ใจ ในวันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกับคำถามที่เหล่าบรรดาผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องเจอ คำถามยอดฮิตสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่ แน่นอนว่าความต้องการของตลาดเปลี่ยนแปลงไปทุกปี และความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หากผู้ประกอบการรู้ไม่เท่าทัน ก็ยากที่จะทำให้สามารถสร้างสรรค์สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ และคำถามที่เราจะพาไปหาคำตอบ มีดังนี้ 1. การตลาดสายมูยังใช้ได้ผลหรือไม่ ธุรกิจไหนที่สามารถสร้างกระแสหรือตามเทรนด์ได้ย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า ช่วยทำให้รู้ว่าควรเดินไปทางไหนหรือนำเสนอการบริการแบบใด แต่เนื่องด้วยในปัจจุบันความเชื่อเปลี่ยนแปลงไปการตลาดสายมูที่ว่าดูเหมือนไม่ใช่ทางเลือกที่ทันกระแสมากขนาดนั้น จึงทำให้ใครหลายคนเกิดข้อสงสัยว่าจริง ๆ แล้วการทำการตลาดแบบนี้ยังคงมีประโยชน์สำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่หรือไม่ ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจก่อนว่าจริง ๆ แล้วกระแสหรือเทรนไม่ใช่สิ่งที่เข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม ดังนั้นการทำการตลาดสายมูยังถือเป็นช่องทางที่ตอบโจทย์ ยิ่งทำความรู้จักว่าพวกเขาเหล่านั้นต้องการอะไร และนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ใช่ ก็ยิ่งเรียกได้ว่ากลายเป็นทางเลือกที่ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน 2. ทำไมพนักงานถึงเบื่อการอบรม แน่นอนว่าเราในฐานะผู้ประกอบการ